ทำความรู้จักปูนสำเร็จรูป
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ปูนซีเมนต์” คือ ส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตต่าง ๆ โดยหน้าที่ของปูนซีเมนต์จะเป็นตัวประสานและยึดส่วนผสมอื่น ๆ ให้อยู่ติดกันคือ หินปูน หินดินดาน ดินลูกรัง และทราย รวมถึงการเพิ่มสารอื่นๆ
ปูนซีเมนต์
ส่วนประกอบของปูนซีเมนต์
ซึ่งปูนซีเมนต์ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1.เนื้อปูนขาว
คือส่วนที่มีองค์ประกอบของแคลอเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate.CaCo3) เช่น หินปูน (Limestone) ชอล์ก (Chalk) และดินขาว (Marl) เป็นต้น ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้เป็นส่วนของเนื้อปูนจะต้องมีความบริสุทธิ์อย่างน้อย 85% ขึ้นไป ถึงจะนำมาใช้เป็นส่วนผสมในปูนซีเมนต์ได้
2.เนื้อดิน
คือวัสดุที่มีองค์ประกอบของซิลิกา เช่น ซิลิคอนไดออกไซด์ (Silicon Dioxide, SiO2) อะลูมินัมออกไซด์ (Aluminum Oxide, Al2O3) และเฟอร์ริกออกไซด์ (Ferric Oxide, Fe2O3) เป็นต้น ซึ่งสามารถพบได้มากในหินดินดานและดินดำ
3.ส่วนปรับคุณภาพ
เป็นส่วนที่ใส่เพิ่มเติมเข้าไป เพื่อเพิ่มคุณภาพของปูนให้มีความสมบูรณ์ โดยการทดสอบเนื้อปูนที่ได้ หากมีส่วนผสมใดขาดไป ก็ให้ทำการเติมส่วนปรับคุณภาพนี้เข้าไป เพื่อให้ได้เนื้อปูนที่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ส่วนปรับคุณภาพ เช่น ทราย ในกรณีที่ต้องการซิลิคอนไดออกไซด์ , แร่เหล็กหรือดินลูกรัง ในกรณีที่ต้องการเฟอร์ริกออกไซด์ และดินอะลูมินา ในกรณีที่ต้องการอะลูมินัมออกไซด์
นอกจากส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันยังมีการเพิ่มสารเติมแต่งเข้าไปในปูนซีเมนต์เพื่อเพิ่มคุณภาพให้เหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น เช่น แร่ยิปซัมที่ช่วยให้ปูนแห้งช้า เป็นต้น
ปูนซีเมนต์ทำงานได้อย่างไร
ปูนซีเมนต์เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญตัวหนึ่งของคอนกรีต เมื่อปูนซีเมนต์รวมตัวกับน้ำจะเป็นของเหลว ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนกาวประสานมวลรวมทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เมื่ออายุมากขึ้นก็จะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวมาเป็นกึ่งเหลวกึ่งแข็ง และในเวลาต่อมาก็จะกลายเป็นของแข็งในที่สุด ซึ่งจะสามารถรับกำลังอัดได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น จนถึงช่วงเวลาหนึ่ง ความสามารถในการรับน้ำหนักก็จะเริ่มคงที่
สั่งซื้อปูนซีเมนต์ ที่นี่!!ชนิดของปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อสร้างโครงสร้าง
ปูนซีเมนต์นั้นมีอยู่ถึง 5 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
1.ปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป (Ordinary Portland cement)
หรือปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 ซึ่งก็คือ ปูนซีเมนต์ที่ใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไปที่ต้องการความแข็งแรงทนทานและรองรับน้ำหนักได้สูง เช่น ถนน สะพาน เสาอาคาร คาน และงานฐานราก เป็นต้น ถึงแม้จะมีความแข็งแรง ทนทานสูง แต่ปูนชนิดนี้กลับไม่ทนต่อการกัดกร่อนของเกลือซัลเฟอร์หรือสารที่เป็นด่าง เช่น
น้ำทะเล เป็นต้น
2.ปูนซีเมนต์ดัดแปลง (Modified Portland cement) หรือปูนซีเมนต์ประเภทที่ 2
โดยเป็นปูนซีเมนต์ที่มีปรับปรุงคุณภาพให้มีความทนทานต่อเกลือซัลเฟอร์หรือสารที่เป็นด่างสูงขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถกักเก็บความร้อนได้ดี จึงนิยมใช้ปูนชนิดนี้ในการสร้างโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่หรืออยู่ใกล้แหล่งซัลเฟอร์ที่มีความเป็นด่างสูง เช่น ทะเล และป่าชายเลน เป็นต้น
3.ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ให้กำลังอัดเร็ว (High-early Strength Portland cement)
หรือปูนซีเมนต์ประเภทที่ 3 คือ ปูนซีเมนต์ที่มีความละเอียดสูงมาก คุณสมบัติของปูนชนิดนี้ คือ แข็งตัวเร็ว จึงเหมาะกับงานด่วน เพราะสามารถถอดแบบได้เร็วกว่าการใช้ปูนชนิดอื่น แต่ว่าต้องมีการบ่มปูนให้เหมาะสมด้วยจึงจะทำคอนกรีตที่เทมีความแข็งแรง นิยมนำมาใช้ในการทำคอนกรีตอัดแรง เสาเข็ม พื้นถนน พื้นสำเร็จรูป เป็นต้น
4.ปูนซีเมนต์ที่มีอัตราความร้อนต่ำ (Low-heat Portland cement)
หรือปูนซีเมนต์ประเภทที่ 4 คือ ปูนที่มีอัตราการคายความร้อนต่ำ ทำให้คอนกรีตมีการแข็งตัวอย่างช้าและมีความแข็งแรงไม่เกิดการแตกร้าว แม้จะอยู่ในภาวะที่มีความเย็นสูงหรือความร้อนสูง เหมาะกับงานที่ต้องใช้คอนกรีตเป็นจำนวนมากในการก่อสร้าง เช่น การสร้างเขื่อน เป็นต้น
5.ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทนซัลเฟตได้สูง (Sulfate Resistance Portland cement) หรือปูนซีเมนต์ประเภทที่ 5 คือ ปูนซีเมนต์ที่ออกแบบมาให้มีความทนทานต่อความเป็นด่างหรือซัลเฟอร์ตามธรรมชาติ เช่น น้ำทะเล ดินเค็ม เป็นต้น สามารถนำมาใช้ได้กับงานทุกประเภทที่อยู่ใกล้ทะเล ป่าชายเลนหรือแหล่งน้ำเค็มทั่วไป
ชนิดของปูนซีเมนต์สำหรับงานตกแต่ง
นอกจากปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อสร้างทั้ง 5 ประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการพัฒนาปูนซีเมนต์สำหรับใช้ในงานตกแต่งภายในและภายนอกขึ้นมา เพื่อเพิ่มความสะดวกและความสวยงามให้กับอาคารบ้านเรือน นั่นคือ
1.ปูนซีเมนต์ผสม
คือ ปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 ที่ผสมด้วยวัสดุเฉื่อยลงไป เพื่อให้ปูนมีความเหนี่ยวยึดเกาะผนังได้ดี แห้งช้า จึงเหมาะกับงานฉาบหรืองานตกแต่งที่ต้องใช้ความประณีตและเวลาในการทำงาน แต่ว่าปูนชนิดนี้ไม่รองรับน้ำหนักได้น้อยจึงไม่เหมาะกับงานโครงสร้างหรืองานฐานราก
2.ปูนซีเมนต์ขาว
คือ ปูนที่ผลิตมาเพื่อใช้ในงานตกแต่งเพื่อความสวยงามเป็นหลัก มีลักษณะเป็นสีขาว แข็งตัวช้า ยึดเกาะดี ความทนทานและรองรับน้ำหนักได้น้อย ไม่เหมาะกับงานโครงสร้างและงานฐานราก จะเห็นว่าปูนซีเมนต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายชนิด
สรุป
การใช้ปูนซีเมนต์ยังต้องคำนึงถึงการจัดส่งเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน ปูนซีเมนต์ผงในบ้านเราสามารถจัดส่งได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ ขนส่งในรูปแบบของปูนซีเมนต์ที่เป็นผงใส่ลงใน รถเต้า หรือรถกล้วย เพื่อขนส่งมาที่โรงงานผลิตคอนกรีต และเป่าปูนซีเมนต์จากรถเข้าถังบรรจุปูนหรือเรียกอีกอย่างว่าถังไซโล รถเต้าส่วนใหญ่จะสามารถบรรจุปูนผงได้จำนวน 30 ตัน อีกรูปแบบหนึงในการจัดส่งปูนซีเมนต์ผง คือ นำเอาปูนซีเมนต์มาบรรจุลงในถุงขนาด 50 กิโลกรัม และวางลงบนพาเลท โดยใช้รถบรรทุกที่มีคอกกั้นขนส่งไปยังร้านค้า หรือหน้างานก่อสร้าง