เหล็กเส้น เรื่องน่ารู้ที่ผู้รับเหมาควรรู้

เหล็กเส้น เรื่องน่ารู้ที่ผู้รับเหมาควรรู้


 

 

เหล็กเส้น เรื่องน่ารู้ที่ผู้รับเหมาควรรู้

          ถ้าพูดถึงคำว่าวัสดุก่อสร้าง พี่ๆผู้รับเหมา จะนึกถึงอะไรเป็นอย่างแรกคะ แต่เรามั่นใจว่า หนึ่งในคำตอบนั้นต้องมี “เหล็กเส้น” อย่างแน่นอน วันนี้พี่ช่างจึงขออาสาคัดสรรความรู้ในเรื่องของเหล็กเส้นก่อสร้าง เพื่อให้ผู้รับเหมาทุกท่านได้ทำความรู้จักกันอย่างลึกซึ้งแน่นอน

 

 

เหล็กเส้น เรื่องน่ารู้ที่ผู้รับเหมาควรรู้

สารบัญ

เริ่มต้นทำความรู้จัก “เหล็กเส้น” กันก่อน

         ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเหล็กเส้นกันก่อนค่ะ เหล็กเส้น คือ เหล็กที่มีลักษณะเป็นเส้นตรง มีลักษณะกลม  มีความแข็งแรงต่อแรงอัด แรงดึงได้ดี จัดอยู่ในกลุ่มของประเภทเหล็กที่เรียกว่าเหล็กเสริม โดยคำว่าเหล็กเสริมถ้าแปลตามตัวก็คือเหล็กเส้นก่อสร้างที่ทำหน้าที่เสริมความแข็งแรงให้กับคอนกรีต โดยเหล็กเส้นจะถูกเสริมไว้ในเนื้อคอนกรีต เพื่อช่วยให้คอนกรีตเกิดความคงทนต่อแรงดึง และแรงอัด

บทความเหล็กเส้นเพื่อผู้รับเหมา

บทความเหล็กเส้นเพื่อผู้รับเหมา

เหล็กเส้นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

โดยที่เหล็กเส้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ประเภทแรก คือ เหล็กเส้นกลมหรือที่เรียกติดปากกันว่า (RB)
  2. ประเภทที่สอง คือ เหล็กเส้นข้ออ้อย หรือ (DB)

          ในส่วนของการใช้งานเหล็กทั้ง 2 ประเภท ถูกนำมาใช้ในงานก่อสร้างหลากหลายประเทภงาน ไม่ว่าจะเป็น งานก่อสร้างขนาดเล็กอาคาร บ้านเรือน หรืองานก่อสร้างที่มีขนาดกลางขึ้นไป ซึ่งลักษณะการใช้งานก็แตกต่างกันไปตามประเภทของเหล็ก

เหล็กเส้นเพื่อผู้รับเหมา

เหล็กเส้นกลม คือ อะไร

เหล็กเส้นกลม (Round Bar) หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ เหล็กRB  ลักษณะเป็นเส้นกลมๆ มีผิวเรียบสีดำทั้งเส้น ส่วนมากขนาดเหล็กเส้นกลมที่นิยมใช้กันในงานก่อสร้างทั่วไปจะมีขนาด 2 หุน 3 หุน หรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ 6 มม. 9 มม. มอก.ของเหล็กเส้นกลม คือ 24-2559

ชั้นคุณภาพสำหรับเหล็กเส้นกลมมีชั้นเดียว คือ ชั้นคุณภาพ SR24  ซึ่งสามารถรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ksc.*

บทความเหล็กเส้น

เรื่องขนาดของเหล็กเส้นกลม

          เรื่องของขนาดเหล็ก จะเริ่มตั้งแต่ 6 มม. ไปจนถึง 32 มม.โดยลักษณะการใช้งานของเหล็กเส้นแต่ละขนาดก็แตกต่างกันออกไปตามประเภทงาน ความทนทานต่อแรงดึง เพราะเหล็กเส้นแต่ละขนาดจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ไม่เท่ากันเริ่มตั้งแต่เหล็กเส้นเล็กไปจนถึงเหล็กที่มีขนาดใหญ่

การนำเหล็กเส้นกลมไปใช้ในงานก่อสร้าง

  • เหล็กเส้น 2 หุน / RB6 / เหล็กเส้น 6 มม. เป็นเหล็กเส้นเล็กสุด นิยมในงานทั่วไปเช่น ปลอกเสา
  • ในส่วนของเหล็กเส้น 3 หุน /RB9 / เหล็กเส้น 9 มม. นิยมทำปลอกเสา
  • สำหรับเหล็กเส้น 4 หุน/RB12 / เหล็กเส้น 12 มม. ใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป ที่ไม่เน้นการยึดเกาะ
  • และเหล็กเส้น 5 หุน/RB19 / เหล็กเส้น 15 มม. นิยมนำมาใช้กับงานถนน

 

*ตารางแสดงขนาดเหล็กเส้นก่อสร้าง / น้ำหนักเหล็กเส้น

ตารางแสดงขนาดเหล็กเส้นกลม

ประเภทเหล็กเส้น/ชั้นคุณภาพ ขนาดเหล็กเส้น เส้นผ่านศูนย์กลาง(มม.) ชื่อเรียกของเหล็กเส้น ขนาดนิ้ว น้ำหนักของเหล็กเส้น กก./เมตร
1 เมตร  10 เมตร  12 เมตร
เหล็กเส้นกลม SR24 RB6 6 มม. เหล็กเส้นกลม 2 หุน ¼ นิ้ว 0.222 2.22 2.66
RB9 9 มม. เหล็กเส้นกลม 3 หุน 3/8 นิ้ว 0.499 4.99 5.99
RB12 12 มม. เหล็กเส้นกลม 4 หุน ½ นิ้ว 0.888 8.88 10.66
RB15 15 มม. เหล็กเส้นกลม 5 หุน 5/8 นิ้ว 1.387 13.87 16.64
RB19 19 มม. เหล็กเส้นกลม 6 หุน ¾ นิ้ว 2.226 22.26 26.71
RB25 25 มม. เหล็กเส้นกลม 1 นิ้ว 1 นิ้ว 3.853 38.53 46.24

หมายเหตุ หน่วยนับ มม. คือ หน่วยนับ มิลลิเมตร , หน่วยนับ กก. คือ หน่วยนับ กิโลเมตร

ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อย

          เหล็กชนิดนี้ตามภาษาช่างเราจะเรียกกันว่า เหล็ก DB ซึ่งย่อมากจาก Deformed Bars Steel เหล็กข้ออ้อยถูกนำมาใช้เป็นเหล็กเส้นก่อสร้าง มีลักษณะเป็นคีบหรือเป็นคลื่นพริ้วๆออกมาตลอดทั้งเส้น จะแตกต่างจากเหล็กเส้นกลม ที่มีความเรียบทั้งเส้น เหล็กเส้นข้ออ้อยสามารถยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดี จึงนิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง           ชั้นคุณภาพของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ได้มาตรฐาน จะแบ่งเป็น SD40 SD50 โดยมีกำลังแรงดึงที่จุดคราก ไม่น้อยกว่า 4000 5000 ksc มอก.ของเหล็กเส้นกลม คือ 20-2559

บทความเหล็กเส้นเพื่อผู้รับเหมา

ขนาดของเหล็กเส้นข้ออ้อย

          เหล็กเส้นข้ออ้อยมีขนาดตั้งแต่ 10 มม. จนถึง 32 มม. ลักษณะการใช้งานเหล็กประเภทนี้จะเหมาะกับ งานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรง เช่น งานอาคารสูง จำพวกงานสะพาน งานคอนกรีต งานถนน งานเขื่อน เป็นต้น หรืองานที่ต้องการแรงยึดเกาะของโครงสร้างที่แข็งแรงกว่าเหล็กเส้นกลม

*ตารางแสดงขนาดเหล็กเส้นก่อสร้าง / น้ำหนักเหล็กเส้น

ตารางแสดงขนาดเหล็กเส้นข้ออ้อย

ประเภทเหล็กเส้น/ชั้นคุณภาพ ขนาดเหล็กเส้น เส้นผ่านศูนย์กลาง(มม.)   ชื่อเรียกของเหล็กเส้น   ขนาดนิ้ว น้ำหนักของเหล็กเส้น กก./เมตร
1 เมตร  10 เมตร  12 เมตร
เหล็กเส้นข้ออ้อย DB 40 DB10 10 มม. เหล็กข้ออ้อย 3หุน 3/8 นิ้ว 0.616 6.16 7.39
DB12 12 มม. เหล็กข้ออ้อย 4หุน ½ นิ้ว 0.888 8.88 10.66
DB16 16 มม. เหล็กข้ออ้อย 5หุน 5/8 นิ้ว 1.578 15.78 18.94
DB20 20 มม. เหล็กข้ออ้อย 6หุน ¾ นิ้ว 2.466 24.66 29.59
DB25 25 มม. เหล็กข้ออ้อย 1นิ้ว 1 นิ้ว 3.853 38.53 46.24
DB28 28 มม. เหล็กข้ออ้อย28มม. 4.834 48.34 58.01
DB32 32 มม. เหล็กข้ออ้อย32มม. 6.313 63.13 75.76
เหล็กเส้นข้ออ้อย DB50 DB12 12 มม. เหล็กข้ออ้อย 4หุน ½ นิ้ว 0.888 8.88 10.66
DB16 16 มม. เหล็กข้ออ้อย 5หุน 5/8 นิ้ว 1.578 15.78 18.94
DB20 20 มม. เหล็กข้ออ้อย 6หุน ¾ นิ้ว 2.466 24.66 29.59
DB25 25 มม. เหล็กข้ออ้อย 1นิ้ว 1 นิ้ว 3.853 38.53 46.24
DB28 28 มม. เหล็กข้ออ้อย28มม. 4.834 48.34 58.01
DB32 32 มม. เหล็กข้ออ้อย32มม. 6.313 63.13 75.76

หมายเหตุ หน่วยนับ มม. คือ หน่วยนับ มิลลิเมตร , หน่วยนับ กก. คือ หน่วยนับ กิโลเมตร

การนำเหล็กเส้นข้ออ้อยไปใช้ในงานก่อสร้างนอกจากจะช่วยเรื่องความแข็งแรงของคอนกรีตแล้ว วิธีเลือกใช้เหล็กก็มีความสำคัญ ที่พี่ช่างควรให้ความสำคัญ เพื่อให้เลือกเหล็กไปใช้งานให้เหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด วันนี้ขอแนะนำวิธีในการเลือกเหล็กไปใช้งานเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อผู้รับเหมามากที่สุด

 

สรุป..ทำไมเราจึงต้องใช้เหล็กเส้น

         อย่างที่เราทราบกันดีว่าเหล็กเส้น มีความสำคัญมากต่องานก่อสร้าง เพราะเหล็กเส้นถือว่าเป็นวัสดุพื้นฐานที่ทุกประเภทงานต้องใช้  เราจึงพบเห็นเหล็กเส้นอยู่รอบตัว เช่น การสร้างบ้าน เราจะเห็นว่า ปลอกคานที่พี่ช่างใช้ก็ทำมาจากเหล็กเส้น 2 หุน หรือ เหล็กเส้น 3 หุน หรือ แม้แต่การเทพื้นเราก็เจอเหล็กเส้น ที่แปรสภาพมาเป็นวายเมท ใช้รองก่อนการปูพื้น ดังนั้น พี่ๆผู้รับเหมาสามารถติดตามข้อมูลดีๆ จากพี่ช่างได้อีกในครั้งถัดไปนะคะแล้วพี่ช่างคิดเห็นอย่างไรกับเหล็กเส้นคะ สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นกันได้ที่ พี่ช่างบอกโปร รวมวัสดุก่อสร้างราคาถูกสำหรับผู้รับเหมา by WatsaduOnline